Skip to main content

อกุศล​จิตดวงที่ ๑​ และ​ ๒


  • จิตดวงที่ ๑
ปทภาชนีย์ [๒๗๕] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? อกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ
มีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีเสียงเป็นอารมณ์
มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์
มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์
หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด
[๒๗๖-๒๘๐] กด​ ​👉 ผัสสะ​ เวทนา​ สัญญา
เจตนา​ จิต
[๒๘๑-๒๘๕]​ กด​ ​👉 วิตก วิจาร ปีติ​ สุข เอกัคคตา
[๒๘๖-๒๙๐] กด​ ​👉 วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์
มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
[๒๙๑-๒๙๔] กด​ ​👉 มิจฉาทิฏฐิ​ มิจฉาสังกัปปะ
มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ
[๒๙๕-๒๙๘] กด​ ​👉 วิริยพละ สมาธิพละ
อหิริกพละ อโนตตัปปพละ [๒๙๙-๓๐๔] กด​ ​👉 โลภะ โมหะ อภิชฌา
มิจฉาทิฏฐิ อหิริกะ อโนตตัปปะ
[๓๐๕-๓๐๔] กด​ ​👉 สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ
มีในสมัยนั้น
หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด
มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล
[๒๗๖] ผัสสะ​ มีในสมั​ยนั้น​เป็น​ไฉน?
อธิบาย​ : ====== >>
(อธิบายคำผัสสะ​ ถึง​ อวิกเขปะ​ ด้วย
ข้อ​ ๒๗๖​ ถึง​ข้อ​ ๓๐๗​ ได้จาก​ "More..." )​
[๓๐๘] หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด
มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล. [๓๐๙] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓

  1. อินทรีย์ ๕ ฌานมีองค์ ๕ มรรคมีองค์ ๔

พละ ๔ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ
ธัมมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น
หรือ​ นามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด
มีอยู่ในสมัยนั้น. สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล. [๓๑๐] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา
วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ
มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ
วิริยพละ สมาธิพละ
อหิริกพละ​ อโนตตัปปพละ
โลภะ โมหะ อภิชฌา มิจฉาทิฏฐิ
อหิริกะ อโนตตัปปะ
สมถะ ปัคคาหะ​ อวิกเขปะ
หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด
เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์
มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล. --------------
จิตดวงที่ ๒ [๓๑๑] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน? อกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ
มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์
หรือปรารภอารมณ์ใดๆ
เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ -------------

อธิบาย​ : บทภาชนีย์ 
หมายถึง​ บทที่​ตั้ง​ไว้​เพื่อ​ไข​ความ
               บท​ที่​ต้อง​อธิบาย
อกุศลเจตสิก๑๔​ : ​
โลภ​3 : โลภะ, มิจฉาทิฏฐิ, มานะ
โทสะ๔​: โทสะ, อิสสา, มัจฉริยะ, กุกกุจจะ
โมหะ๔: โมหะ, อหิริ, อโนตตัปปะ, อุทธัจจะ
ถีทุกะ2: ถีนะ , มิทธะ 
วิจิกิจฉา 1:​  วิจิกิจฉา 
อธิบายเพิ่ม​ :
โลภะ​: ความอยากได้
มิจฉาทิฏฐิ​:  การเห็นผิดจากความเป็นจริง
มานะ : ความอวดดื้อถือตัว
โทสะ : ความโกรธ
อิสสา​: ความริษยา
มัจฉริยะ : ความตระหนี่
กุกกุจจะ : ความเดือดร้อนใจ
โมหะ : ความหลง
อหิริ : ความไม่ละอายต่อบาป
อโนตตัปปะ​: ความไม่เกรงกลัวต่อบาป
อุทธัจ​จะ​ : ความฟุ้งซ่าน
วิจิกิจฉา : ความลังเลสงสัย
ถีนะ : จิตใจหดหู่(ใจ)​
มิทธธ : ความโงกง่วง(กาย)​